02 149 5555 ถึง 60

 

วอนสื่อนำเสนอข่าวฆ่าตัวตาย อย่าเอ่ยชื่อ-ข้อมูลถึงคนใกล้ชิด อาจทำฆ่าตัวตายซ้ำ

วอนสื่อนำเสนอข่าวฆ่าตัวตาย อย่าเอ่ยชื่อ-ข้อมูลถึงคนใกล้ชิด อาจทำฆ่าตัวตายซ้ำ

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการศึกษาทั่วโลกมีข้อมูลตรงกันว่าการฆ่าตัวตายเป็นพฤติกรรมที่มีความสลับซับซ้อน ไม่อาจจะบอกได้ว่ามาจากสาเหตุเดียว หากมีความเครียด นั่นแปลว่าต้องมีความเครียดสะสมหลายอย่าง หากเป็นโรคซึมเศร้าก็ต้องมีสาเหตุอื่นๆ ที่สะสมมาก่อน ทั้งนี้เมื่อเกิดเหตุฆ่าตัวตายขึ้นแล้วพบว่าความสูญเสียไม่ได้จบอยู่แค่นั้น แต่จะทำให้คนรอบข้างของผู้เสียชีวิต ญาติ เกิดความรู้สึกผิดว่าตัวเองมีส่วนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นหรือไม่ ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ได้มีส่วนเลย แต่ก็จะโทษตัวเองอยู่อย่างนั้น บางคนอาจจะก้าวข้ามความรู้สึกสูญเสียและความรู้สึกผิดไปได้เมื่อเวลาผ่านไป แต่บางคนไม่สามารถก้าวข้ามได้ ต้องเป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องได้รับการเยียวยาต่อไป

นพ.ยงยุทธ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้การนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายนั้นไม่ได้มีข้อห้าม แต่เป็นจรรยาบรรณของสื่อทั่วโลกว่าจะต้องไม่พาดหัวข่าวว่าการฆ่าตัวตายนั้นมาจากสาเหตุอะไร ไม่เสนอภาพ เสนอชื่อ นามสกุล และแหล่งข้อมูลที่เชื่อมโยงไปถึงคนใกล้ชิด เพราะบรรดาคนใกล้ชิดเขามีความสูญเสีย เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว ยังต้องมาถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวให้รู้สึกผิดด้วย นอกจากนี้ การเสนอข้อมูลรายละเอียดเช่นนี้ยังเป็นสิ่งที่ไปกระตุ้นกลุ่มเปราะบางที่กำลังมีปัญหาแบบเดียวกับผู้ฆ่าตัวตาย ก็จะไปกระตุ้นให้คนกลุ่มนี้คิดว่านี่คือทางออกของปัญหา จนเกิดการเลียนแบบการฆ่าตัวตายขึ้น ซึ่งในสังคมนี้ เราไม่รู้ว่าใครมีปัญหาอะไร ใครเป็นกลุ่มเปราะบาง ดังนั้นจึงต้องระวังการนำเสนอข่าวไม่ให้ไปกระตุ้นให้คนเลียนแบบการฆ่าตัวตาย สิ่งที่สื่อมวลชนควรเสนอเมื่อเกิดเหตุ คือหาทางออกของปัญหา แหล่งข้อมูลที่ผู้ที่มีปัญหาสามารถปรึกษา ขอความช่วยเหลือได้ อย่างสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือช่องทางอื่นๆ วันนี้สื่อไทยเองถือว่ามีความตระหนักเรื่องนี้บ้าง แต่ด้วยความที่มีสื่อเกิดขึ้นเยอะ หลากหลายขึ้นจึงยังไม่การเสนอข่าวที่ไม่เหมาะสม

8 March 2562

ที่มา มติชนรายวัน

Posted By ์์Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 996

 

Preset Colors