02 149 5555 ถึง 60

 

หลงลืมไม่ใช่สมองเสื่อม

หลงลืมไม่ใช่สมองเสื่อม

เพราะคำว่า "อัลไซเมอร์" เป็นคำใหม่ที่เรารู้จักกันมาประมาณ 2 ทศวรรษให้หลังนี้กระมัง จึงส่งผลให้มนุษย์ลุงมนุษย์ป้าในยุคนี้คอยหวั่นกับโรคนี้จนถึงเป็นกังวล เมื่อตัวเองเกิดอาการหลงๆ ลืมๆ แบบปกติธรรมดาของคนที่มีอายุมากขึ้น

ฉะนั้นการเป็นกระต่ายตื่นตูมแบบนี้ก็อาจจะทำลายสมองได้เหมือนกัน เพราะเครียดและย้ำคิดอยู่เสมอว่าตัวเองป่วยตัวเองเป็นโรคนั่นแหละ

การศึกษาพบว่าของ ดร.อเล็กซานดรา ทูรูโตกลู โรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้สูงวัยไม่ได้ความจำเสื่อมทุกคน ผู้สูงอายุบางคนยังมีสมองที่ฉลาด และมีความทรงจำที่ดีเยี่ยม สมองของผู้สูงวัยไม่ได้เล็กลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น แต่มันกลับทำหน้าที่เก็บความจำ และสามารถนำกลับมาใช้งานได้ดีกว่าหนุ่มสาวบางคนด้วยซ้ำ คนวัยชราที่อายุระหว่าง 60-80 ปี สามารถมี ความจำที่เทียบเท่าคนวัยรุ่นได้

ข้อมูลนี้คงจะช่วยให้ประชาชนคนใกล้ชราโล่งอกขึ้นนะคะ เพราะการวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจว่า ทำไมผู้สูงอายุบางคนถึงรักษาความทรงจำได้ดีเทียบเท่ากับคนวัยรุ่น และดูถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเหล่านี้มีความทรงจำที่ดี

แต่ถ้าอยากรู้ว่าจะทำอย่างไรให้สมองไม่เสื่อมเร็ว งานวิจัยนี้ก็บอกว่า ต้องฝึกสมองให้ได้คิดวิเคราะห์อยู่ตลอด และในวัยกลางคนควรเริ่มบริหารสมองด้วยการทำสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ อาจเริ่มฝึกจากงานอดิเรกที่ตนเองชอบ เพื่อให้เกิดความสนุกและเพลิดเพลิน

ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำลายสมอง เช่น เหล้า บุหรี่ มลพิษ

กินอาหารชะลอด้านความเสื่อมของสมอง และส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทให้ดีขึ้นตามแนวเวชศาสตร์วัยชรา (Gerontology) นะคะ ส่วนเวชศาสตร์ที่ว่าเป็นอย่างไรนั้น ก็เริ่มต้นค้นหาด้วยตัวเองดีไหมคะ ถือว่าเป็นการฝึกสมองให้หาสิ่งที่น่าสนใจ พิจารณา ขบคิด วิเคราะห์ไปในตัว ว่าเราเองสามารถทำได้หรือไม่ได้ อย่างไรบ้าง

ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเรียน ก็ย่อมหมายถึงไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะหาความรู้รอบตัว...จริงๆ นะจ๊ะ.

21 November 2561

ที่มา ไทยโพสต์

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 408

 

Preset Colors