02 149 5555 ถึง 60

 

ค้าน อย.เปลี่ยนประเภท "ยาลอราทาดีน" ลดอาการแพ้ จี้เป็นยาอันตรายตามเดิม เหตุมีข้อระวังเพียบ

ค้าน อย.เปลี่ยนประเภท "ยาลอราทาดีน" ลดอาการแพ้ จี้เป็นยาอันตรายตามเดิม เหตุมีข้อระวังเพียบ

ค้าน อย.เปลี่ยนประเภท "ยาลอราทาดีน" ลดอาการแพ้ จี้เป็นยาอันตรายตามเดิม เหตุมีข้อระวังเพียบ

อาจารย์เภสัชฯ ม.ขอนแก่น จี้ อย.คง "ยาลอราทาดีน" ลดอาการแพ้ เป็นยาอันตรายตามเดิม ชี้ มีข้อควรระวะงในการใช้ โดยเฉพาะผู้ป่วยตับ ไต หญิงมีครภ์ เสี่ยงยาตีกันกับตัวอื่น ต้องปรึกษาแพทย์ เภสัชฯ ก่อนใช้ยา

รศ.ภญ.ดร.นุศราพร เกษสมบูรณ์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปลี่ยนประเภทยาลอราทาดีน (Loratadine) ซึ่งเป็นยาลดอาการแพ้ จากยาอันตราย จ่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกร เป็นยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ ทำให้ซื้อหาได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องรับคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา ว่า ก่อนหน้านี้ทาง อย.ได้จัดรับฟังความคิดเห็น และทางสภาเภสัชกรรมได้ทำข้อคิดเห็นคัดค้านการเปลี่ยนประเภทยาดังกล่าวและเห็นว่าควรจัดให้อยู่ในกลุ่มยาอันตรายเหมือนเดิม เนื่องจากเป็นยาที่มีข้อควรระวังในการใช้ และการวินิจฉัยอาการก่อนใช้ยามีความซับซ้อนเกินกว่าที่ประชาชนทั่วไปจะวินิจฉัยเองได้

“ในส่วนของข้อควรระวังในการใช้นั้น ไม่ควรใช้ยาลอราทาดีนในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับ ไต หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร และควรระวังกรณีใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพบางชนิด ยาต้านเชื้อรา ยาโรคหัวใจ เนื่องจากเกิด drug interaction หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่ายาตีกัน กล่าวคือถ้าใช้ร่วมกับยาตัวอื่นอาจส่งผลให้ยาตัวอื่นหรือตัวมันเองออกฤทธิ์ได้มากขึ้นหรือน้อยลง”

รศ.ภญ.ดร.นุศราพร กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นการวินิจฉัยว่าผู้ซื้อยาที่เป็นผู้ป่วยอยู่ในภาวะมีน้ำมูกเนื่องจากการแพ้หรือไม่ และควรใช้ยายาลอราทาดีนหรือไม่นั้น การวินิจฉัยก็มีความซับซ้อน เช่น ดูว่าจามหรือไม่ น้ำมูกใสหรือไม่ มีอาการคัน คัดจมูกหรือไม่ มีอาการมากขึ้นในช่วงกลางคืนหรือไม่ กลางคืนต้องหายใจทางปากหรือไม่ เหนื่อยง่ายหรือไม่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้มีเยอะมาก ประชาชนทั่วไปน่าจะวินิจฉัยเองไม่ได้

รศ.ภญ.ดร.นุศราพร กล่าวว่า แนวโน้มการเปลี่ยนประเภทยาเพื่อให้ประชาชนใช้ยาด้วยตนเองได้ง่ายขึ้น เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก มาตรการนี้เพิ่มการเข้าถึงยา ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความเสี่ยงด้านยากับประชาชน แต่กลับเพิ่มยอดขายกับบริษัทยาเจ้าของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญว่าประเทศไทยจะมีมาตรการในการออกแบบกลไกการพิจารณาประเภทยาเพื่อที่จะคุ้มครองให้ประชาชนใช้ยาอย่างปลอดภัยได้อย่างไร

21 November 2561

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 2590

 

Preset Colors