02 149 5555 ถึง 60

 

สมองส่วนหน้า" แยก "คน-สัตว์หน้าขน" คุมจิตใต้สำนึก งดใช้ความรุนแรง

สมองส่วนหน้า" แยก "คน-สัตว์หน้าขน" คุมจิตใต้สำนึก งดใช้ความรุนแรง

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้อธิบายเรื่องของการใช้ความรุนแรงให้ฟังว่า ความรุนแรง และแรงขับทางเพศคือเรื่องเดียวกันที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของมนุษย์ทุกคน เพื่อสืบทอดและดำรงเผ่าพันธุ์

นับวันสังคมไทย สังคมโลกจะยิ่งพบ เห็นการกระทำความรุนแรงในหลายรูปแบบ ทั้งกับสัตว์ และคน เรื่องนี้ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้อธิบายเรื่องของการใช้ความรุนแรงให้ฟังว่า ความรุนแรง และแรงขับทางเพศคือเรื่องเดียวกันที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของมนุษย์ทุกคน เพื่อสืบทอดและดำรงเผ่าพันธุ์

ทั้งนี้การกระทำความรุนแรงระดับ ที่รุนแรงน้อยคือ “ความคิด” มากกว่านี้ คือแสดง “ความรุนแรงทางวาจา” อาทิ ใช้คำหยาบคาย รุนแรง เสียงดัง หากยังไม่ตอบสนองอารมณ์รุนแรงได้ ก็อาจจะเป็นขั้นรุนแรงสุดคือการ “ลงมือกระทำความรุนแรง”

อย่างไรก็ตาม “มนุษย์ต่างจากสัตว์หน้าขน” ตรงที่มนุษย์ “มีสมองส่วนหน้า” ขนาดใหญ่ ที่คอย “ควบคุมจิตสำนึก เรื่องความรุนแรง” เอาไว้ไม่ให้แสดงออกมาด้วยการทำร้ายตัวเองหรือคนอื่น แต่หากเป็นสัตว์ อย่างเช่น สุนัข แค่แย่งอาหารก็กัดกันแล้ว

แต่ถึงแม้จะมีสมองส่วนหน้าคอยควบคุมอยู่ แต่จิต ใต้สำนึกนั้นสามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยภาพ เสียง เรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ และเลียนแบบได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กซึ่งมีภูมิต้าน ทานน้อยเมื่อเห็นความรุนแรงก็จะเลียนแบบได้ง่าย ง่ายกว่าการแสดงความอ่อนโยน

การดูละคร เสพสื่อ หนังสือ วรรณกรรมเกี่ยวกับความรุนแรง หรือแม้แต่สอนวิธีทำ นั้นจริง ๆ คือดูได้ มีไว้ในครอบครองได้เพราะ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้คนได้ระบายความรุนแรงผ่านการเสพสื่อเหล่านั้นแล้วจบ ๆ ไป โดย ไม่ลงมือกระทำจริงๆ ซึ่งเป็นส่วนน้อยมากที่ รู้สึกได้ระบายออกโดยการดูสื่อแต่ไม่ลงมือกระทำ

ในขณะที่ร้อยละ 90 ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าเพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงสิ่งกระตุ้นแล้วในทางการแพทย์ก็ว่าไม่ดี ไม่อย่างนั้นเราคงไม่มีการประกาศจัดเรตความรุนแรงในหนัง ละคร สื่อต่าง ๆ เพราะสอดคล้องกับเรื่องทางจิตวิทยา

นพ.เกียรติภูมิ ระบุว่า การบำบัดคนที่ใช้ความรุนแรงนั้น เบื้องต้นจะดู 1. เดือดร้อนตัวเองหรือไม่ ทำให้ตัวเองบาดเจ็บ 2. เดือดร้อนคนอื่นหรือไม่ และ 3. กระทบกับการ ใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพหรือไม่ ถ้ามี 3 นี้ก็จำเป็นต้องได้รับการบำบัด แต่มีน้อยคน หรือไม่ถึงครึ่งที่จะรู้ตัวและ ไปรับการบำบัดรักษาปัญหาชอบใช้ความรุนแรง บางคนบำบัดไม่ได้กระทำความรุนแรงมาก ๆ ก็กลายเป็นอาชญากรก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้สมองส่วนหน้าได้ทำหน้าที่ควบคุมจิตสำนึก และแปลงการใช้ความรุนแรงไปในทางสร้างสรรค์ เป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคม เริ่มต้นจากการเลี้ยงดูลูกหลาน เยาวชน ต้องเปลี่ยนวิธีคิดพื้นฐาน ให้ทำในสิ่งที่สร้าง สรรค์ เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา และอบรมสั่งสอนให้รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รับผิดชอบต่อสังคม

31 October 2561

ที่มา เดลินิวส์

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 857

 

Preset Colors