02 149 5555 ถึง 60

 

หมอชี้ อัลไซเมอร์ ป้องกันได้ตั้งแต่วัยเด็ก

หมอชี้ อัลไซเมอร์ ป้องกันได้ตั้งแต่วัยเด็ก

วันที่ 21 กันยายนของทุกปี เป็นวัน อัลไซเมอร์โลก ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โดย ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล และ รศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง จึงได้ร่วมกันอธิบายเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์

สำหรับอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในโรคสมองเสื่อม โดยโรคสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมของความจำ การคิดอ่าน การวางแผน ตัดสินใจ การใช้ภาษา ทักษะในการทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมหรืออาชีพที่เคยทำได้ตามเดิม และอาจมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยน แปลงไปด้วย

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม ที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 พบถึงร้อยละ 60-70 ได้แก่ โรค อัลไซเมอร์ ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์สมองเสื่อม

สาเหตุของสมองเสื่อมที่พบบ่อยอันดับ 2 คือ สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งพบในผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะผสมกันทั้ง 2 อย่าง

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ สมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน และสมองเสื่อมจากเซลล์สมองเสื่อมชนิดต่างๆ เช่น Dementia with Lewy bodies (DLB) หรือ fronto temporal lobar dementia (FTLD) นอกจากนั้นประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้ที่มีสมองเสื่อม เกิดจากภาวะสมองเสื่อมที่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์, ขาดวิตามินบี 12, โพรงสมองคั่งน้ำ, ภาวะซึมเศร้า, ยาบางชนิดที่รบกวนการทำงานของระบบประสาท และดื่มเหล้าจัด เป็นต้น

สำหรับการป้องกันภาวะสมองเสื่อมนั้น มีเรื่องดีๆ จากการประชุม Alzhimer”s Association International Conference 2017 (AAIC 2017) ที่จัดขึ้นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ว่า ถ้าสามารถลดปัจจัยเสี่ยง 9 อย่าง ของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ ก็จะสามารถป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ถึง 1 ใน 3 ของปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว

จัดแบ่งออกตามอายุดังนี้คือ วัยเด็ก การศึกษาน้อยคือปัจจัยเสี่ยงจนถึงอายุ 15 ปี

วัยกลางคน ความดันโลหิตสูง, โรคอ้วน, โรคหูตึง และวัยผู้สูงอายุ โรคซึมเศร้า, โรคเบาหวาน, ไม่ออกกำลังกาย, สูบบุหรี่ และการไม่เข้าสังคม

ดังนั้น การป้องกันโรคอัลไซเมอร์จึงสามารถทำได้ตั้งแต่วัยเด็ก โดยสามารถทำได้โดย 1.มีการศึกษาที่เหมาะสมตามเกณฑ์

2.รักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดทั้งหลาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน โดยการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินตั้งแต่วัยหนุ่มสาว

3.แก้ไขโรคหูตึง โรคซึมเศร้า ตั้งแต่วัยกลางคน

4.ปรับปรุงการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เช่น วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน เดินเล่น รำมวยจีน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เป็นต้น

5.การพูดคุยพบปะผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยงต่างๆ หรือเข้าชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น

และ 6.พยายามมีสติในสิ่งต่างๆ ที่กำลังทำและฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา

25 September 2561

ที่มา ข่าวสด

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 621

 

Preset Colors