02 149 5555 ถึง 60

 

โพสต์ข้อความ วันป้องกัน ฆ่าตัวตาย กรมสุขภาพจิต สัญญาณเตือน

โพสต์ข้อความ วันป้องกัน ฆ่าตัวตาย กรมสุขภาพจิต สัญญาณเตือน

เมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมาเป็น "วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก" เพจ "กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข" ได้เผยแพร่ข้อมูลวิธี "การช่วยเหลือเบื้องต้นผู้คิดฆ่าตัวตาย" ไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า "การช่วยเหลือเบื้องต้น หากพบเห็นคนคิดฆ่าตัวตาย คุณก็สามารถช่วยเหลือเขาได้ด้วยการประเมินสถานการณ์ ความเสี่ยงต่ออันตราย ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 1.ไม่เข้าจู่โจมทันที, 2.พูดให้วางอาวุธ, 3.พูดคุยหน่วงเหนี่ยว, 4.ถ้าดื่มสุรา/ใช้ยาเสพติด พยามให้หยุดดื่มหรือเสพ, 5.อยู่เป็นเพื่อน ไม่ให้อยู่คนเดียว, 6.ถ้ามีความเสี่ยงอันตราย โทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323, 7.ให้กำลังใจ และ 8.พาไปพบแพทย์

นอกจากนี้ ยังมีอีก "8 สิ่งที่ควรรีบทำเมื่อเห็นสัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตายในโลกโซเชียล" คือ 1.แสดงความเต็มใจช่วยเหลือ, 2.ยอมรับ, 3.ให้กำลังใจ, 4.พิมพ์ข้อความให้คำปรึกษา, 5.ชักชวนทำกิจกรรม อย่าให้อยู่คนเดียว, 6.บอกญาติและอยู่ให้ห่างจากอุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง, 7.แนะนำบริการให้คําปรึกษา และ 8.ติดต่อแหล่งให้ความช่วยเหลือ

พร้อมกับระบุข้อความว่า "ข่าวการฆ่าตัวตายแต่ละครั้งกระทบต่อความมั่นคงและปลอดภัยในจิตใจแต่ละคน โดยเฉพาะกับคนใกล้ชิด ต้นเหตุที่มักพบได้บ่อยที่สุดมาจาก 5 เรื่อง คือ 1.ความสัมพันธ์บุคคล 2.สุรา 3.ยาเสพติด 4.สังคม และ 5.เศรษฐกิจ ในผู้ชายมักมีปัจจัยความเสี่ยงมาจากปัญหาโรคทางจิต ดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด โดยเฉพาะการดื่มสุรามากขึ้น จะมีโอกาสลงมือทำร้ายตัวเองมากกว่าผู้หญิงที่มีปัญหาถึง 2 เท่า ส่วนในผู้หญิงมักมีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ได้แก่ น้อยใจ ถูกตำหนิดุด่า ผิดหวังความรัก"

ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการฆ่าตัวตายนั้นมี "5 สัญญานเตือน! เสี่ยงฆ่าตัวตาย" ซึ่งสังคมควรที่จะต้องช่วยกันสอดส่อง หากพบเห็นการโพสน์ข้อความ เช่น "โพสน์สั่งเสียเป็นนัยๆ เช่น ขอโทษ ลาก่อน, โพสต์ว่าไม่อยากอยู่อีกต่อไปแล้ว, โพสต์ถึงความเจ็บปวด ทนทุกข์ทรมาน, โพสต์ถึงความล้มเหลว ผิดหวังในชีวิต และ โพสต์กล่าวโทษตัวเอง เป็นภาระของคนอื่น" ซึ่งนั่นไม่เรื่องล้อเล่น "แต่เป็นสัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตาย"

อย่างไรก็ตาม ยังมี "วัคซีน 3 ส. ป้องกันปัญหาฆ่าตัวตาย" ซึ่งครอบครัวเป็นพลังสำคัญและอยู่ใกล้ปัญหาที่สุด คือ ส.ที่ 1 การมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่ห่างเหินและใกล้ชิดจนเกินไป ให้คนในครอบครัวเป็นตัวของตัวเอง มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน, ส.ที่ 2 การสื่อสารที่ดีต่อกัน โดยบอกความรู้สึกตัวเองอย่างจริงจัง มีภาษาท่าทางที่เป็นมิตรต่อกัน เช่น สบตา ยิ้ม โอบกอด และการสัมผัส จะช่วยให้คนในครอบครัวเกิดพลังที่เข้มแข็ง และ ส.ที่ 3 ใส่ใจรับฟัง มีเวลาให้คนในครอบครัว ทำกิจกรรมร่วมกัน และดูแลช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิต ได้ตั้งเป้าลดอัตราการฆ่าตัวตายให้เหลือ 6.0 ต่อแสนประชากรภายในปี 2564

ข้อมูลจาก "กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข"

12 September 2561

ที่มา แนวหน้า

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 440

 

Preset Colors