02 149 5555 ถึง 60

 

จิตแพทย์เตือน “สื่อ” เลี่ยงสัมภาษณ์ญาติ 13 นักเตะ เสี่ยงภาวะเครียดฉับพลันรุนแรง “ไฮเปอร์เวนติเลชั่นซินโดรม

จิตแพทย์เตือน “สื่อ” เลี่ยงสัมภาษณ์ญาติ 13 นักเตะ เสี่ยงภาวะเครียดฉับพลันรุนแรง “ไฮเปอร์เวนติเลชั่นซินโดรม

จิตแพทย์เตือน “สื่อ” เลี่ยงสัมภาษณ์ญาติ 13 นักเตะ เสี่ยงภาวะเครียดฉับพลันรุนแรง “ไฮเปอร์เวนติเลชั่นซินโดรม”

จิตแพทย์เตือน “สื่อ” เลี่ยงสัมภาษณ์ครอบครัว 13 นักเตะสูญหายในถ้ำหลวง ชี้ เสี่ยงภาวะ “ไฮเปอร์เวนติเลชั่นซินโดรม” หายใจเร็วผิดปกติจากความเครียด หน้ามืดเป็นลมได้ เป็นปฏิกิริยาร่างกายต่อความเครียดเฉียบพลัน เผย มีญาติ 3 ราย เครียดระดับรุนแรง อยู่ในความดูแลของทีมจิตแพทย์แล้ว พร้อมห่วงทีมค้นหา อาจเหนื่อยล้า เครียดสะสมจากการทำงานแข่งกับเวลา

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการประเมินสุขภาพจิตของผู้ปกครองของทีมฟุตบอลเยาวชน ที่พลัดหลงอยู่ในถ้ำหลวง จ.เชียงราย ที่จุดรวมญาติใกล้ปากถ้ำ และได้ให้คำปรึกษาญาติจำนวน 13 ครอบครัว พบว่า มีความเครียด มีอาการปวดศีรษะ มีไข้ ตัวร้อน และนอนไม่หลับ ได้ให้ยารักษาเบื้องต้นแล้ว โดยมี 3 ราย ที่มีความเครียดในระดับรุนแรงอยู่ในความดูแลของทีมจิตแพทย์ใกล้ชิดแล้ว ทีมงานได้วางแผนดูแลจัดทีมเฝ้าระวังในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง

น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ระดมพลกำลังเข้าไปช่วยเหลือค้นหาผู้พลัดหลงทั้ง 13 คนอย่างเต็มที่ จึงมีความเป็นห่วงสุขภาพจิตของทีมค้นหา เนื่องจากต้องทำงานภายใต้ความกดดัน แข่งกับเวลาและมีความเสี่ยงภัย อาจเกิดความเหนื่อยล้าและเครียดสะสมได้ จึงขอแนะนำให้ทีมค้นหาเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันในเบื้องต้น ขณะเดียวกัน ควรสับเปลี่ยนกำลัง เพื่อลดความล้าทางกายที่ส่งผลทางจิตใจ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หากรู้สึกว่าตัวเองไม่ไหว ขอให้นั่งพักหรือคุยกับหัวหน้าทีมหรือผู้บังคับบัญชาเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งไม่ใช่เป็นการยอมแพ้หรือไม่เอาไหน แต่เป็นการทำให้พลังการทำงานดีขึ้นโดยสามารถปรึกษาคลายเครียดที่หน่วยแพทย์บริเวณหน้าถ้ำ

นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า จากการสังเกตของทีมสุขภาพจิตที่ลงพื้นที่พบว่า ทีมช่วยเหลือยังมีพลังกายและใจดี กระตือรือร้น มีความหวัง ไม่ท้อถอย แต่ปัญหาที่พบและน่าเป็นห่วง คือ ทีมสื่อมวลชนจากหลายสำนักที่เข้าไปสัมภาษณ์ซักถามญาติของผู้พลัดหลงอยู่ตลอด หากเป็นไปได้ขอให้เลี่ยงการสัมภาษณ์ญาติที่เป็นผู้หญิง วัยรุ่น และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจิตใจเปราะบาง เกิดความเครียดได้ง่าย โดยหากมีความจำเป็นก็ขอให้ใช้ท่าทีที่นุ่มนวล หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ก่อความกลัว ความวิตกกังวล เนื่องจากอาจไปกระตุ้นทำให้ญาติเกิดภาวะที่เรียกว่า ไฮเปอร์เวนติเลชั่นซินโดรม คือ ภาวะหายใจเร็วผิดปกติจากความเครียด เกิดอาการมืดหน้า เป็นลมได้ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาของร่างกายต่อความเครียดที่ฉับพลันรุนแรง อาการดังกล่าวต้องได้รีบการดูแลรักษาโดยเร็ว แม้ว่าจะไม่มีอันตรายถึงชีวิตก็ตามสิ่งที่กระตุ้นให้เกิด ไฮเปอร์เวนติเลชั่นซินโดรม ได้แก่ ความทุกข์ทรมานใจ ภาวะเครียด ดื่มกาแฟมากเกินไป หรืออยู่ในที่ที่มีผู้คนจำนวนมากแออัด เป็นต้น

28 June 2561

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By sty_lib

Views, 935

 

Preset Colors