02 149 5555 ถึง 60

 

สุข-แข็งแรง-ยังทำงาน มองผู้สูงวัยไทยผ่านสถิติ

สุข-แข็งแรง-ยังทำงาน มองผู้สูงวัยไทยผ่านสถิติ

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเข้าสู่ สังคมสูงวัย มาสักระยะหนึ่งแล้ว นำมาซึ่งหลายมาตรการของภาครัฐที่ออกมารับมือ รวมถึงล่าสุดกับแนวคิด “ขยายเวลาเกษียณอายุราชการ” จาก 60 ปี เป็น 63 ปี ดังที่ปรากฏในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกาศดังกล่าวถูกเผยแพร่เมื่อ 6 เม.ย. ซึ่งประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจอยู่ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 24 ก (เล่มที่ 5) เมื่อ 6 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน 10 เม.ย. 2561 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) โดยผู้อำนวยการ สสช. ภุชพงศ์ โนดไธสง แถลงข่าวผลการสำรวจเรื่อง “สถิติบอกอะไร ผู้สูงวัยปัจจุบันและอนาคต” ซึ่งมีเรื่องราวน่าสนใจ อาทิ 1.ในปี 2560 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปราว 11.31 ล้านคน เป็นหญิง 6.23 ล้านคน ชาย 5.08 ล้านคน 2.สัดส่วนผู้สูงอายุตามวัย เป็นผู้สูงอายุวัยต้น (60-69 ปี) ร้อยละ 57.4 วัยกลาง (70-79 ปี) ร้อยละ 29 และวัยปลาย (80 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 13.6

3.ภาคเหนือ “ครองแชมป์” พื้นที่ที่มีสัดส่วนประชากรสูงวัยมากที่สุด ร้อยละ 21.1 รองลงมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ร้อยละ 19.2 ส่วนภาคใต้ มีผู้สูงอายุน้อยที่สุด ร้อยละ 14.4 4.ผู้สูงอายุไทย 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.1 ทำงานประจำ อาชีพที่ผู้สูงอายุไทยทำกันมาก 2 อันดับแรกคือ อันดับ 1 เกษตรกร ร้อยละ 58.7 กับอันดับ 2 ค้าขายและบริการ ร้อยละ 17.9

5.บุตรยังเลี้ยงดูพ่อแม่ และผู้สูงวัยเองก็พยายามไม่เป็นภาระ โดยพบว่ารายได้หลักของผู้สูงอายุ อันดับ 1 ร้อยละ 34.7 ได้จากบุตร อันดับ 2 การทำงานของตนเอง ร้อยละ 31 ส่วนเหตุผลที่ผู้สูงวัยยังทำงานคือ อันดับ 1 สุขภาพแข็งแรงดี ยังทำงานไหว ร้อยละ 47.7 อันดับ 2 ต้องหารายได้เลี้ยงตนเองหรือครอบครัว ร้อยละ 43.4 ทั้งนี้ผู้สูงอายุไทยทำงานเฉลี่ย 38 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

6.ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่สุขภาพยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม้สัดส่วนผู้สูงอายุที่สุขภาพดีมากและดีจะลดลงกว่าการสำรวจเมื่อปี 2557 กล่าวคือ ในปี 2557 มีผู้สูงอายุสุขภาพดีมาก ร้อยละ 3.3 และสุขภาพดีร้อยละ 42.4 ส่วนปี 2560 มีผู้สูงอายุสุขภาพดีมาก ร้อยละ 2.4 และสุขภาพดีร้อยละ 39.3 แต่ผู้สูงอายุในเกณฑ์สุขภาพปกติเพิ่ม จากปี 2557 ที่ร้อยละ 38.3 เป็นร้อยละ 43.2 ในปี 2560 ส่วนผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่ดี ลดลงจากร้อยละ 13.9 ในปี 2557 มาอยู่ที่ร้อยละ 13.5 ในปี 2560 และผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่ดีมาก ลดลงจากร้อยละ 2.1 ในปี 2557 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ในปี 2560

7.โครงการบัตรทอง 30 บาท มีประโยชน์มากกับผู้สูงวัย ร้อยละ 83.2 ของผู้สูงอายุไทยใช้บัตรทอง 30 บาท ในการรักษาพยาบาล 8.ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งเสี่ยงหกล้มมากขึ้นด้วย แม้จำนวนผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้มจะลดลง จากร้อยละ 11.6 ในปี 2557 มาเหลือเพียงร้อยละ 6.6 ในปี 2560 แต่หากแยกตามวัย ผู้สูงอายุวัยปลายหรือ 80 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด ร้อยละ 8.3 สาเหตุอันดับ 1 ร้อยละ 39 คือการลื่น และอันดับ 2 ร้อยละ 36.6 คือการสะดุด

พแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้สูงวัย พบว่า ผู้สูงวัยร้อยละ 40.1 อยู่บ้านชั้นเดียว รองลงมา ร้อยละ 37.3 นอนชั้นล่าง, ร้อยละ 59 นอนบนเตียง ร้อยละ 51.5 ใช้ส้วมห้อยเท้า ร้อยละ 81.3 ส้วม อยู่ภายในบ้าน ถือว่ามีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในระดับหนึ่ง แต่ที่ต้องปรับปรุง เช่น ยังมีถึงร้อยละ 47.5 ที่ใช้ส้วมนั่งยอง ร้อยละ 41 ให้ผู้สูงอายุนอนบนพื้น และโดยเฉพาะ “ร้อยละ 89.2 ไม่มีราวจับในห้องน้ำ” ห้องน้ำจึงเป็นจุดเสี่ยงที่ผู้สูงวัยอาจหกล้มได้

10.ผู้สูงอายุไทยยังมีความสุขดี หากให้คะแนนเต็ม 10 นับจากสุขน้อยที่สุดไปสุขมากที่สุด ผู้สูงอายุไทยเฉลี่ยกว่าร้อยละ 50 ให้คะแนนที่ 7-8 หมายถึงมีความสุขมาก และกว่าร้อยละ 30 ให้คะแนนที่ 5-6 หมายถึงมีความสุขปานกลาง อย่างไรก็ตาม “ความสุขก็ลดลงตามวัย” จากผู้สูงอายุวัยต้น 60-69 ปี ที่ตอบว่าสุขมาก ร้อยละ 57.7 เมื่อถึงผู้สูงอายุวัยปลาย หรือ 80 ปีขึ้นไป ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 43.8

11.ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่มีรายได้พอยังชีพ โดยร้อยละ 28.2 มีรายได้ 10,000-29,999 บาทต่อเดือน รองลงมา ร้อยละ 21.4 มีรายได้ 30,000-49,999 บาทต่อเดือน อันดับ 3 ร้อยละ 15.2 มีรายได้ 50,000-69,999 บาทต่อเดือน โดยมีเพียงร้อยละ 10.9 ที่มีรายได้

ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ในภาพรวมร้อยละ 50.3 ตอบว่ารายได้เพียงพอในการใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 5.8 ที่มีเหลือเก็บออม

12.คู่ชีวิตและลูกสาวคือผู้เลี้ยงดู ผู้ดูแลผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.2 เป็นคู่สมรสที่อยู่ดูแลกันในยามแก่เฒ่า รองลงมา ร้อยละ 30 เป็นลูกสาวที่แต่งงานแล้ว และอันดับ 3 ร้อยละ 10.6 เป็นลูกสาวที่ยังโสด13.ลูกยังห่วงใยพ่อแม่ โดยผู้สูงอายุร้อยละ 79.1 ได้รับเงินจากบุตรหลานที่ออกไปทำงานไกลบ้านส่งกลับมา และร้อยละ 64.6 กรณียังอยู่บ้านเดียวกัน อย่างไรก็ตามมีข้อค้นพบน่าสนใจอย่างหนึ่งคือ พบผู้สูงอายุร้อยละ 17.4 ยังให้เงินช่วยเหลือบุตรหลานในกรณีอยู่บ้านเดียวกัน มากกว่ากรณีอยู่คนละบ้านซึ่งอยู่ร้อยละ 8

14.ครอบครัวไทยยังอบอุ่น เห็นได้จากคนไทยถึงร้อยละ 97.3 ยังกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.4 ไปเยี่ยมเกือบทุกวันหรือทุกวัน รองลงมา ร้อยละ 27.8 ไปเยี่ยมอย่างน้อยปีละครั้ง และอันดับ 3 ร้อยละ 25.1 ไปเยี่ยมเดือนละ 1 ครั้ง และ 15.ผู้สูงอายุอยู่แบบโสดหรือเป็นคู่ชีวิตวัยชรามากขึ้น โดยในปี 2560 กลุ่มที่อยู่เป็นโสดอยู่ที่ร้อยละ 10.8 เพิ่มจากร้อยละ 8.7 ในปี 2557 และกลุ่มที่อยู่เป็นคู่ชีวิตวัยชรา ในปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 23.3 เพิ่มจากร้อยละ 20.6 ในปี 2557

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของผู้สูงอายุรวมถึงสภาพของครอบครัวไทย ซึ่งความท้าทายที่ ผอ.สสช. ทิ้งท้ายไว้คือ “จะทำอย่างไรให้คนไทยมีลูกมากขึ้น” เพราะหากอัตราการเกิดยังลดลงต่อเนื่อง ในปี 2570 หรืออีก 9 ปีข้างหน้า บอกได้เลยว่าประชากรวัยทำงาน “เหนื่อย” แน่ๆ!!

18 April 2561

ที่มา แนวหน้า

Posted By sty_lib

Views, 2346

 

Preset Colors