02 149 5555 ถึง 60

 

โรคซึมเศร้ากับเสาต้นนั้น

โรคซึมเศร้ากับเสาต้นนั้น

การต่อสู้ของหญิงสาวคนหนึ่งบนหนทางชีวิตที่มีโรคซึมเศร้าและอะนอเร็กเซียอยู่เคียงข้าง เมื่อตระหนักว่า "โรค" และ "เรา" ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เส้นทางนี้ก็ดูสดใสขึ้น

โรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตอื่นๆ มี 3 เหตุหลัก คือพยาธิสภาพทางกาย สุขภาพจิต และสังคม

อาการพื้นฐานของโรคคือ รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ตัวเองไม่มีความหมาย อยากตาย อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์

คนไข้ส่วนมากไม่รู้ว่านี่คืออาการของโรค แต่เข้าใจว่าตัวเองไร้ค่าจริงๆ จึงไม่เข้ารับการวินิจฉัย

การรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ แต่ผู้ป่วยก็สามารถหาวิธีที่จะบำบัดตัวเองให้ดีขึ้นด้วย การออกกำลังกายคือทางเลือกที่ดี

โพลแดนซ์ คือการออกกำลังกายที่ท้าทายความสามารถ และเติมเต็มความรู้สึกได้ดี

การเดินทางของหญิงสาวคนหนึ่ง บนหนทางชีวิตกับโรคซึมเศร้าและอะนอเร็กเซีย (Anorexia) หรือโรคคลั่งผอม โรคการกินผิดปกติ นั้นน่าสนใจ เพราะเธอไม่ได้ยอมจำนน

เมย์ - วรดา เอลสโตว์ ลูกครึ่งไทย - อังกฤษ บัณฑิตจากอักษรฯ จุฬาฯ ที่กำลังเรียนปริญญาโท สาขาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ครูสอนพิเศษภาษาฝรั่งเศส ที่รับงานแปล และถ่ายแบบอยู่สม่ำเสมอ

หญิงสาวช่างคิดคนนี้ต่อสู้กับโรคซึมเศร้าด้วยหลายวิธี มาถึงการรับมือล่าสุดด้วยการฝึกโพลแดนซ์ (Pole Dance) การเต้นกับเสาซึ่งมีภาพจำที่เย้ายวน แต่จริงๆ แล้วโพลแดนซ์ต้องใช้ความยืดหยุ่นแข็งแรงของร่างกายและความอดทนสูงมาก

เรามารู้จักกับวรดา โรคซึมเศร้า และเสาต้นนั้นกัน

เรากับโรคไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

อาการป่วยของวรดาหาจุดเริ่มแน่นอนไม่เจอ โรคซึมเศร้าค่อยๆ คืบคลานเข้ามาจนเธอรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า อยากตายจริงๆ ตอนที่ช่วงเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเธอไม่รู้ว่านั่นคืออาการของโรค

“เราไม่รู้ว่าอันไหนคือตัวเรา แล้วอันนั้นคือตัวโรค หลังจากที่รู้ตัว แล้วได้รับการวินิจฉัยว่าป่วย เราก็เริ่มหาความรู้ด้วยตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง จนถึงเพิ่งไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้เอง ที่รู้ตัวว่าเรากับโรคคือสองอย่างที่แตกต่างกัน พอเกิดอาการเราก็จะรู้ตัวขึ้นมาว่านี่่คืออาการของโรคนะ ไม่ได้เป็นตัวเราจริงๆ”

เพราะความไม่รู้ว่านั่นคือโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่คิดจะไปหาหมอ

“แม้แต่จะไปหาหมอ ยังกลัวว่าจะเป็นภาระให้หมอ เพราะเราไร้ค่า ไม่มีใครสมควรจะมาลำบากเพราะเรา” วรดาเล่า “ต้องให้แน่ใจ ให้เราพยายามฆ่าตัวตายก่อนค่อยไป แล้วมีเพื่อนๆ ที่เขาเป็น เขาไปหาหมออยู่ ทุกคนก็พยายามลากให้เราไปหาหมอ เราก็ไปหาหมอเพราะรำคาญ ปรากฏว่าเป็น”

โรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตอื่นๆ มี 3 สาเหตุหลักคือ Biology, Psychology และ Social หรือพยาธิสภาพทางกาย สุขภาพจิต และสังคม อาการพื้นฐานของโรคคือ รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ตัวเองไม่มีความหมาย อยากตาย อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ โดยไม่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเป็นเพียงตัวหนึ่งที่มากระตุ้น คนที่เกิดมาในสภาพแวดล้อมที่แย่ แต่มีการมองโลกที่ดี มีคนที่ให้ความรัก ก็ทำให้ผู้นั้นชื่นชมในสิ่งที่ตนมีอยู่ได้

ซึมเศร้าและอะนอเร็กเซีย

คนที่เป็นทั้งโรคซึมเศร้าและอะนอเร็กเซียอย่างวรดา วิเคราะห์ว่าโรคทั้งสองมาคู่กัน โดยโรคซึมเศร้านั้นเป็นพื้นฐาน เมื่อคนเรามองตัวเองไร้ค่า ก็ย่อมมองไม่เห็นความงามของตัวเอง ยิ่งพยายามทำตัวเองให้ดูดีด้วยการลดความอ้วน (เพราะสังคมชี้นำว่าผอมเท่านั้นจึงสวย) ก็นำไปสู่โรคการกินผิดปกติ

บวกกับอาการคิดทำร้ายตัวเอง “ถ้าเราทำร้ายตัวเองด้วยวิธีอื่น ก็จะถูกมองว่าเป็นคนมีปัญหา ถ้าทรมานตัวเองด้วยการอดข้าว ก็ปกตินะ ใช้ชีวิตได้ตามปกติ ได้ผอม ได้สวยด้วย คนก็ยอมรับ นี่คือวิเคราะห์ตัวเอง”

ตอนนี้วรดากำลังทำธีสิสเกี่ยวกับการกินผิดปกติในอาชีพนางแบบ เธอไปสัมภาษณ์นางแบบหลายคน แต่กลับพบว่านางแบบส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นโรคการกินผิดปกติ “เราทำงานกับนางแบบคนอื่นๆ แล้วรู้สึกว่าเราอ้วนกว่า สวยน้อยกว่า แต่ทำไมเขาถึงไม่ไปถึงจุดนั้นที่เราไปถึง จึงได้ข้อสรุปว่าเป็นพยาธิสภาพของตัวเองที่ก่อให้เกิดอาการพวกนี้”

ข้อน่าสังเกตของการทำร้ายตัวเองของวรดาคือ เธอใช้มันเป็นสิ่งผลักดันให้มีแรงทำสิ่งดีๆ ให้ตัวเอง เหมือนกับทำร้ายตัวเองแล้วต้องชดเชยด้วยการทำดีให้ตัวเอง

เรียนเพื่อบำบัดผู้อื่น

เคยเข้าใจว่าวรดาเลือกเรียนปริญญาโทสาขาสุขภาพจิต เพื่อจะเยียวยาตัวเอง แต่จริงๆ แล้ว เธอต้องการเรียนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น

“เพราะเาป่วย พอบำบัดจนไม่มีอาการ เรามีความสุขอะ นี่คือสิ่งที่ควรเป็น ไม่เคยรู้สึกอย่างนี้มาก่อน เราจำครั้งสุดท้ายที่รู้สึกอย่างนี้ไม่ได้แล้ว ที่ผ่านมาเราจมกับความทุกข์มาตลอด หาจุดมุ่งหมายของชีวิต พอเข้าใจสิ่งนี้ และคนอื่นอาจไม่เข้าใจอย่างเรา เลยอยากช่วยให้คนที่กำลังทุกข์เหมือนอย่างตอนที่เราทุกข์”

ก่อนหน้านั้นเธอเคยมีแฟนที่มีอาการแบบเดียวกัน และช่วยกันบำบัดจนดีขึ้นส่วนหนึ่ง เธอจึงคิดว่าน่าจะทำหน้าที่นี้ได้ ก็ได้พบกับหลักสูตรนี้พอดี

21 March 2561

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

Posted By sty_lib

Views, 1107

 

Preset Colors