02 149 5555 ถึง 60

 

โลกกังวล เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ปัญหาที่คนไทยต้องหันมอง

โลกกังวล เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ปัญหาที่คนไทยต้องหันมอง

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ให้ความสำคัญกับปัญหา "เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ" ไว้ในระดับต้นๆ ของวิกฤตปัญหาสุขภาพของประชาคมโลก เพราะถือว่าเป็นภัยคุกคามที่คนทั่วโลกจะต้องดำเนินการแก้ไขร่วมกัน

กระทั่งมีการคาดการณ์ว่า หากไม่เกิดการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จะมีคนเสียชีวิตทั่วโลกถึง 10 ล้านคน ในปี 2593

ทำความเข้าใจกับปัญหาดังกล่าวกันก่อน โดยยาปฏิชีวนะเป็นส่วนหนึ่งของยาต้านจุลชีพ หน้าที่คือ ฆ่า ทำลาย ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นเชื้อโรค และเมื่อยาเหล่านี้ไม่ทำหน้าที่ ก็นำไปสู่คำว่า 20;เชื้อดื้อยา ส่งผลให้ยาที่เคยใช้ได้ผลกลับใช้ไม่ได้ผล ทำให้ไม่หายจากการติดเชื้อ

สำหรับประเทศไทยในกรณีปัญหาดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2560 เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย ปี 2560-2564 ซึ่งปัจจุบันมีความคืบหน้าไปสู่แผนปฏิบัติการ

เป้าหมายของไทยคือลดการป่วยเชื้อดื้อยาให้ได้ 50% การใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์และสัตว์ลดลง 20-30% และอีกเป้าหมายคือ คนไทยตระหนักรับรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและเข้าใจการใช้ยาต้านจุลชีพมากขึ้น

นอกเหนือจากนั้น <strong>นพ.กำธร มาลาธรรม </strong>นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย เล่าว่า การพัฒนาศักยภาพของแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม และสร้างความมั่นใจให้แก่แพทย์ในการวินิจฉัยเกี่ยวกับการใช้ยา ซึ่งเป็นการลดโอกาสของความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาให้น้อยลง ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ขณะเดียวกันเห็นว่าทุกภาคส่วนต้องช่วยกันขับเคลื่อนเรื่องการเข้าถึงความรู้เรื่องยาและสุขภาพอย่างถูกต้อง เพื่อให้การใช้ยาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เรื่องของความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและความตระหนักเรื่องเชื้อดื้อยาของประชาชนในประเทศไทย เมื่อเดือน มี.ค. 2560 โดยสุ่มครัวเรือนตัวอย่างกว่า 2.7 หมื่นครัวเรือน พบว่า คนไทยมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับต่ำมาก ความรู้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีฐานะดี ดังนั้นจึงควรจัดทำข้อความเพื่อรณรงค์สื่อสารความรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยาไปสู่ประชาชนทั่วไปได้อย่างถูกต้อง นพ.กำธร ให้ความเห็น

ด้าน นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า อย.มีบทบาทในการควบคุมและกำกับเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ยา ตั้งแต่การขึ้นทะเบียน ยาที่จะมาขึ้นทะเบียนต้องเป็นยาที่มีคุณภาพ เพราะถ้ายาไม่มีคุณภาพ หรือยาปฏิชีวนะไม่มีประสิทธิภาพ พอใช้ไปก็จะทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้

และการสุ่มตรวจหลังออกสู่ท้องตลาด ส่วนใหญ่เป็นยากลุ่มปฏิชีวนะ ที่ถูกสุ่มในอัตราสูงกว่ายากลุ่มอื่น เพราะเป็นยาที่ประชาชนใช้เยอะ ดังนั้นหากพบว่ามีความผิดปกติ อย.จะถอนทะเบียนยาหรือมีการขยับสถานะ เช่น ยาอันตราย ซึ่งขายได้เฉพาะในร้านที่มีเภสัชกร ขยับไปเป็นยาควบคุมพิเศษที่มีเฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น หรือในอดีตที่มียาปฏิชีวนะเป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่ปัจจุบันไม่ให้มีแล้ว

นพ.สุรโชค อธิบายเสริมว่า การที่ประชาชนเข้าถึงยาได้สะดวกมากขึ้นในปัจจุบัน จากการซื้อยารับประทานเองโดยไม่ได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการจากแพทย์และเภสัชกร เป็นปัจจัยหลักหนึ่งที่ก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาในคน รวมถึงการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลยังเป็นปัญหาที่ไม่อาจละเลยได้ ส่วนการใช้ยาในสัตว์มีควบคุมอย่างเข้มข้นทั้งจากภายในประเทศตามกฎหมายของกรมปศุสัตว์ในเรื่องการใช้ยา ยาที่ห้ามใช้ ระยะเวลาหยุดยาก่อนจับสัตว์ เป็นไปด้วยความรับผิดชอบตามคำสั่งของสัตวแพทย์ และมาตรฐานอาหารสากลที่มีข้อกำหนดด้านสุขอนามัยหลายด้าน

และเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ ซึ่งการควบคุมคุณภาพตลอดห่วงโซ่การผลิตเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อให้ได้อาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคดังนั้นเชื้อดื้อยาจึงเป็นเรื่องที่เราแก้ไขได้ โดยเริ่มจากตัวคุณเอง” รองเลขาธิการ อย. แนะนำ

อีกด้านของความเห็นจาก นสพ.บุญขวัญ วงษ์อยู่น้อย ตัวแทนจากสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีกเสริมว่า รัฐบาลประกาศห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ที่นำมาเป็นอาหารในประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สมาคมมีการให้ความรู้เรื่องของปัญหาของเชื้อดื้อยา ซึ่งในส่วนของอุตสาหกรรมไก่ การรับรู้ในเรื่องดังกล่าวมีความก้าวหน้าไปมากและปฏิบัติตามมาตรฐานสากล เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกไก่อันดับ 4 ของโลก

สมาชิกทุกคนพร้อมให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยา และขอยืนยันว่าไก่ไทยบริโภคได้ปลอดภัย ไม่มีการใช้ฮอร์โมนเร่งโต นสพ.บุญขวัญ กล่าวทิ้งท้าย

8 March 2561

ที่มา โพสต์ทูเดย์

Posted By sty_lib

Views, 1436

 

Preset Colors