02 149 5555 ถึง 60

 

วิจัยพบ"นมเปรี้ยว"สร้างภูมิต้านทานไข้หวัดใหญ่

วิจัยพบ"นมเปรี้ยว"สร้างภูมิต้านทานไข้หวัดใหญ่

สถาบันโภชนาการ เปิดผลวิจัย นมเปรี้ยวมีผลต่อการเสริมภูมิต้านทานโรคไข้หวัดใหญ่ เผยแบ่งอาสาสมัครเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่ได้รับที่มีสารโพรไบโอติกส์ จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกัน ไข้หวัดใหญ่(H1N1) ไวรัสเอชทรีเอ็นทู (H3N2) ได้ดีกว่ากลุ่มทีรับนมเปรี้ยวที่ไม่มีสารโพรไบโอติกส์ ส่วนไวรัสชนิด Bแทบไม่แตกต่าง แสดงให้เห็นว่าการได้รับวิคซีนอย่างเดียวได้ผลดีแล้ว

22 ก.พ.- ที่สถาบันโภชนาการ ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม อาจารย์ประจำหลักสูตรพิษวิทยา และโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย แถลงข่าว “ผลการศึกษานมเปรี้ยวมีผลต่อการเสริมภูมิต้านทานโรคไข้หวัดใหญ่หรือไม่” ว่าไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก เกิดจากการไวรัสชนิดเอ (Flu A) เช่น ไวรัสเอชวันเอ็นวัน (H1N1) ไวรัสเอชทรีเอ็นทู (H3N2) และไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดบี (Flu B) ซึ่งไวรัสชนิดเอนี้ โดยมาตรการที่ดีที่สุดในการป้องกัน คือการให้วัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและผู้สูงอายุองค์ การอนามัยโลกได้แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3 ชนิดคือไวรัส H1N1 ไวรัส H3N2 และ ไวรัส B อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนในปัจจุบันยัง ไม่สูงนัก พบว่า การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันขอประชากรบางส่วนไม่สร้างแอนติบอดี หรือสร้างแอนติบอดีได้ในระดับต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องหาแนวทางเสริมภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่

ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร กล่าวอีกว่า สถาบันโภชนาการ คณะเวชศาสตร์เขตร้อนและศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ทำการศึกษาวิจัยว่านมเปรี้ยวมีผลต่อการเสริมภูมิต้านทานโรคไข้หวัดใหญ่หรือไม่ โดยใช้นมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์ (probiotics) คือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ พบในอาหารหลายชนิด เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว และ เนยแข็งเป็นต้น ประโยชน์ของ โพรไบโอติกส์มีหลายอย่าง ทั้งการปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ กระตุ้นการขับถ่าย ตลอดจนเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ได้ทำการศึกษาวิจัยในคนเกี่ยวกับประสิทธิผลของนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์คือจุลินทรีย์แลกโตบาซิลัส พาราคาเซอิ 431 ต่อการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ไข้หวัดใหญ่ และได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยแล้วในวารสาร Journal of Functional Food ซึ่งเป็นวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่เผยแพร่งานวิจัยด้านอาหารสุขภาพโดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากนักวิชาการ

สำหรับงานวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองทางคลินิก (clinical trial) ซึ่งผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนชุดกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล การวิจัยนี้มีอาสาสมัครสุขภาพดีที่ไม่เคยได้รับวัคซีนและไม่เคยป่วยไข้หวัดใหญ่ อายุ 18-45 ปี เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มหนึ่งได้รับนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์ อีกกลุ่มได้รับนมแต่งกลิ่นรสที่ไม่มีโพรไบโอติกส์ โดยอาสาสมัครจะไม่ทราบว่าตนได้รับนมเปรี้ยวชนิดใด และจะได้รับวัคซีนป้องกัน จำนวน 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อไวรัส H1N1 H3N2

ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร กล่าวว่า ผลการวิจัยพบว่าอาสาจะได้รับรับประทานนมเปรี้ยวเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนรับวัคซีน และรับประทานต่ออีก 4 สัปดาห์หลังรับวัคซีน ระหว่างนี้อาสาสมัครทุกคนต้องงดรับประทานอาหารอื่นที่มีโพรไบโอติกส์ ทั้งนี้มีการเจาะเลือดเพื่อวัดภูมิคุ้มกันตั้งแต่ก่อนรับนมเปรี้ยว หลังรับนมเปรี้ยว 2 สัปดาห์ (ก่อนรับวัคซีน) หลังรับวัคซีน 4 สัปดาห์ และหลังหยุดรับนมเปรี้ยว 2 สัปดาห์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยการตรวจภูมิคุ้มกันได้ส่งตัวอย่างเลือดไปตรวจที่คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยเทคนิค hemagglutination inhibition (HI) และเพื่อให้ผลถูกต้องไม่ลำเอียวทางห้องปฏิบัติการจะไม่ทราบว่าอาสาสมัครแต่ละรายอยู่กลุ่มใด จากนั้นเมื่อได้รับผลตรวจกลับมานักวิจัยสถาบันโภชนาการ โดยจะไม่ทราบว่าอาสาสมัครรายใดได้รับนมเปรี้ยว ทราบเพียงว่าอยู่กลุ่ม A หรือ ทำให้การวิจัยน่าเชื่อถือ

จากผลการวิจัยพบว่า ในอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนร่วมกับรับประทานนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์ จะมีอัตราการสร้างภูมิคุ้มกันใหม่ ต่อเชื้อ H1N1 และ H3N2 สูงกว่ากลุ่มที่รับนมที่ไม่มีโพรไบโอติกส์ นอกจากนี้ สำหรับเชื้อ H3N2 ซึ่งมักพบว่า วัคซีนไม่ค่อยได้ผลนั้น การวิจัยดังกล่าวยังพบว่า ในคนที่มีภูมิอยู่แล้ว การรับประทานนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์ช่วยให้อัตราการตอบสนองต่อวัคซีนต้านไวรัส H3N2 เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า อีกด้วย อย่างไรก็ดี เนื่องจากอาสาสมัครกลุ่มนี้มีการตอบสนองต่อวัคซีนต้านไวรัส Flu-B สูงอยู่แล้ว จึงไม่เห็นความแตกต่างระหว่างการได้รับหรือไม่ได้รับโพรไบโอติกส์ต่อภูมิคุ้มกันต้านไวรัสชนิด B การวิจัยเรื่องโพรไบโอติกส์กับภูมิคุ้มกันไข้หวัดใหญ่ โดยสรุป ในผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่หรือไม่เคยรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ การรับประทาน

สำหรับกลุ่มที่รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด H1N1 ที่รับนมเปรี้ยวไม่มีโพรไบโอติกส์ มีอัตราการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ถึงร้อยละ 60 แต่กลุ่มที่รับนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์มีอัตราการสร้างภูมิคุ้มกันสูงกว่าร้อยละ 80 ส่วนกลุ่มที่รับวัคซีนที่ต่อต้านเชื้อ H3N2 ที่รับนมเปรี้ยวแบบไม่มีโพรไบโอติกส์มีอัตราการสร้างภูมิคุ้มกันประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ แต่หากรับนมเปรี้ยวที่มีโพรไบโอติกส์จะมีอัตราการตอบสนองหรือการสร้างภูมิคุ้มกันสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่น่าสนใจว่า สำหรับกลุ่มที่ก่อนฉีดวัคซีนไม่มีภูมิคุ้มกัน และเมื่อรับนมเปรี้ยวและฉีดวัคซีน จะมีภูมิเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จะได้ผลดีกับคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันมาก่อน ส่วนชนิด B พบมากในประเทศไทย ซึ่งการฉีดวัคซีนอย่างเดียวค่อนข้างได้ผลดี เมื่อเทียบทั้ง 2 กลุ่ม ก็ไม่แตกต่างกัน ล แสดงว่ากลุ่มนี้มีภูมิมาก่อน จึงเสริมกับผลการศึกษาที่เป็นไปได้ว่า หากมีภูมิคุ้มกันก่อนอาจไม่สร้างเพิ่มมากนัก แต่หากไม่มีภูมิคุ้มกันจะช่วยเพิ่มภูมิใหม่ได้ดีกว่า

ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร กล่าวอีกว่า มีรายงานการวิจัยในต่างประเทศซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติพบว่า โพรไบโอติกส์จุลินทรีย์ชนิดอื่น เช่น Lactobacillus acidophilus NCFM และ Bifidobacterium animalis subsp lactis Bi-07 ก็ให้ผลช่วยลดอาการไข้ คัดจมูก และลดจำนวนวันที่ป่วยด้วยไข้หวัดในเด็กและผู้ใหญ่สุขภาพดีได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อควรระวัง คือ โพรไบโอติกส์ เป็นจุลินทรีย์มีชีวิตจึงอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยหนักเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือคนที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน เช่น เบาหวานที่คุมน้ำตาลไม่ได้ และโรคเอดส์ระยะที่แสดงอาการ และไม่ควรใช้เลี้ยงทารก อย่างไรก็ตามสำหรับนมเปรี้ยวที่มีขายในท้องตลาดของประเทศไทย ส่วนมากสอดคล้องกับงานวิจัย มีการระบุชนิดของจุลินทรีย์ไว้ที่ฉลาก สามารถเลือกรับประทานเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้.

23 February 2561

ที่มา ไทยโพสต์

Posted By sty_lib

Views, 2426

 

Preset Colors