02 149 5555 ถึง 60

 

เด็กเล็ก “นอนกรน” อาจหยุดหายใจ! ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

เด็กเล็ก “นอนกรน” อาจหยุดหายใจ! ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

สยามรัฐออนไลน์ 2 กุมภาพันธ์ 2561 08:40 กทม.

การนอนของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ พญ.ภัสสรา เลียงธนสาร แพทย์กุมารเวชศาสตร์ รพ.กรุงเทพ ระบุอาการนอนกรน (Obstructive Sleep Apnea Syndrome (OSAS) คือ ความผิดปกติของระบบหายใจที่เกิดขณะหลับ

เกิดจากทางเดินหายใจถูกอุดกั้นบางส่วน หรืออุดกั้นอย่างสมบูรณ์ มักเกิดเป็นพักๆ ขณะหลับ จึงรบกวนระบบระบายลมหายใจและระบบการนอนหลับ

พบได้ประมาณ2% และพบได้ทั้งในเด็กหญิงและชายเท่าๆ กัน แต่จะพบแบบที่ไม่เป็นอันตรายบ่อยกว่า

แพทย์จะต้องตรวจวินิจฉัยเด็กนอนกรนในลักษณะอันตราย หรือผิดปกติของการหายใจ เพราะหากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน

การนอนกรนอาจอันตรายได้ หากเกิดร่วมกับภาวะหายใจที่ลดลง หรือหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

เกิดจากหายใจไม่ออก เนื่องจากทางเดินหายใจแคบหรือตัน และเกิดจากความผิดปกติของสมองที่ควบคุมการหายใจหรือกล้ามเนื้อ

ในแบบแรกจะพบบ่อยกว่า ในช่วงอายุ 2-6 ขวบ เพราะทางเดินหายใจยังเล็ก ยิ่งป่วยเป็นหวัดบ่อยๆ จะยิ่งทำให้ต่อมทอนซิลกับต่อมอะดีนอยด์โตขึ้นจากการอักเสบ ทำให้หายใจไม่ออก

ส่งผลให้ออกซิเจนในเลือดต่ำไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทางเดินหายใจถูกอุดกั้น ต้องใช้พลังหายใจค่อนข้างมาก ทำให้ตื่นบ่อย กระทบการเรียนรู้และพัฒนาการ

ยังมีสาเหตุร่วมคือ น้ำหนักเกิน (โรคอ้วน) โครงสร้างระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น กรามเล็ก มีทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ มีความผิดปกติของสมองทำให้ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจผิดปกติ

เด็กที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากเหตุต่างๆ ผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม มีโรคปอดเรื้อรัง

พ่อแม่สังเกตอาการได้ เช่น นอนกรนเป็นบางช่วง นอนกรนประจำแต่อาจไม่ทุกคืน นอนอ้าปากหายใจ หายใจแรง สะดุดหรือเป็นเฮือกๆ ไอ หรือสำลักตอนนอน

อาการร่วมอื่นๆ เช่น หลังตื่นนอนอาจปวดศีรษะ สมาธิสั้น คุมอารมณ์และพฤติกรรมได้ไม่ดี ปัสสาวะรดที่นอน เดินละเมอ เป็นต้น

2 February 2561

ที่มา สยามรัฐ

Posted By STY_Lib

Views, 1315

 

Preset Colors