02 149 5555 ถึง 60

 

ของขวัญปีใหม่บัตรทอง เพิ่มสิทธิยาใหม่ 5 กลุ่มโรค

ของขวัญปีใหม่บัตรทอง เพิ่มสิทธิยาใหม่ 5 กลุ่มโรค

p>ส่งท้ายปีเก่าพุทธศักราช 2560... ต้อนรับ ปีใหม่ 2561 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมส่งต่อความสุขมอบของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนผู้มีสิทธิ...“ผ่าตัดวันเดียวกลับ” และ “เพิ่มยาใหม่ 5 กลุ่มโรค 7 รายการ”</p><p>นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า ในปีใหม่ 2561 กระทรวงสาธารณสุขขอมอบของขวัญให้ประชาชน 4 เรื่องหลัก คือ หนึ่ง...เพื่อให้เข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว ลดการรอคอย ลดความแออัดในโรงพยาบาล</p><p>ด้วยบริการ “ผ่าตัดวันเดียวกลับบ้าน” ในโรงพยาบาล (One Day Surgery) หรือ “ODS”</p><p>โดยตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าปี 2561 มีผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด ODS ร้อยละ 15 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ในปี 2564 ซึ่งจะ เป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการบริการได้มากขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตและทำงานได้เร็วขึ้น</p><p>สอง...ส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างปลอดภัย สมเหตุผลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลทางแอพพลิเคชั่น “RDU รู้เรื่องยา” ซึ่งได้ร่วมกับเครือข่ายโรงพยาบาลสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย กระทรวงดิจิทัลฯ และภาคีสุขภาพ พัฒนาแอพเพื่อเข้าถึงข้อมูลยาแผนปัจจุบัน ให้มีการใช้ยาอย่างเหมาะสม ผู้รับการรักษาจะสามารถเข้าถึงข้อมูลยาที่ตนเองใช้</p><p>สาม...จัดทำแอพพลิเคชั่นสมุนไพรเฟิร์ส (Samunprai first) ครบเครื่องเรื่องสมุนไพรในแอพเดียว ค้นหาพืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำเร็จรูปรักษาอาการป่วยเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ประชาชนนึกถึง เชื่อมั่น และใช้ก่อนใช้ยาอื่น</p><p>สี่...คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อนุมัติเพิ่มสิทธิประโยชน์ยาใหม่ให้ “ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” หรือ “บัตรทอง” ใน 5 กลุ่มโรค 7 รายการยา ซึ่งเป็นยาในกลุ่มบัญชี จ2 หรือยาราคาแพงแต่มีความจำเป็นต้องใช้</p><p>นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เสริมว่า ปัจจุบันผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จึงได้พัฒนาระบบบริการทางการแพทย์แนวใหม่เพื่อประชาชน เป็นการผ่าตัดวันเดียวกลับ (One Day Surgery : ODS) ไม่ต้องรับเป็นผู้ป่วยในและอยู่โรงพยาบาลไม่เกิน 24 ชั่วโมง</p><p>สำคัญก็คือผู้ป่วยผ่าตัดแล้ว...ไม่ต้องนอนพักค้างคืน</p><p>หลักการคือ ผู้ป่วยเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดมาจากที่บ้านและมารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาล หลังพักฟื้นจากการผ่าตัดไม่กี่ชั่วโมง ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองและกลับบ้านได้ภายในวันเดียว ทำให้ลดเวลานอนในโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและญาติระหว่างมาโรงพยาบาล</p><p>“รวมทั้งช่วยลดระยะเวลารอคอยผ่าตัด ทำให้รักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น ลดความแออัดในโรงพยาบาล มีเตียงรองรับผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉินหรือโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน ส่งผลให้สามารถเข้าถึงบริการที่มีมาตรฐานและปลอดภัย”</p><p>สำหรับ “โรค” หรือ “ภาวะ” ที่สามารถรับบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับจะเริ่มจาก 12 กลุ่มโรค ดังนี้ โรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบ, ถุงน้ำที่อัณฑะ, ริดสีดวงทวาร, ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด</p><p>เส้นเลือดดำโป่งพองในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร, ภาวะหลอดอาหารตีบ, ภาวะอุดตันของหลอดอาหารจากมะเร็งหลอดอาหาร, ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่, นิ่วในท่อน้ำดี, นิ่วในท่อของตับอ่อน, ภาวะท่อน้ำดีตีบตัน, ภาวะท่อตับอ่อนตีบ</p><p>ลงลึกในรายละเอียดกันอีกสักนิด นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. บอกว่า ในส่วนของการสนับสนุนนโยบายผ่าตัดวันเดียวกลับ สปสช.ได้ปรับเงื่อนไขการเบิกจ่ายเพื่อสนับสนุนให้ โรงพยาบาลผ่าตัดวันเดียวกลับ โดยจะเริ่มในวันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป สำหรับ 12 กลุ่มโรค</p><p>ตามที่กรมการแพทย์ได้เป็นประธานการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นการเบิกจ่ายชดเชยให้แก่หน่วยบริการที่ให้บริการแก่ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีการให้บริการเป็นกรณีผ่าตัดวันเดียวกลับตามรายการกลุ่มโรค และหัตถการตามที่กำหนด</p><p>....เป็นบริการผ่าตัดเพื่อการรักษาที่มีระยะเวลานอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 2 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง เฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และหน่วยบริการที่ให้บริการต้องผ่านเกณฑ์การประเมินศักยภาพตามที่กำหนด ทั้งนี้ คำนวณอัตราจ่ายตามค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (RW) โดยจ่ายจากกองทุนผู้ป่วยใน</p><p>เลขาธิการ สปสช. ย้ำว่า นอกจากนี้แล้ว บอร์ด สปสช.เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.60 ยังมีมติอนุมัติเพิ่มสิทธิประโยชน์ยาจำเป็นแต่มีราคาแพง 5 กลุ่มโรค 7 รายการ ดังนี้</p><p>ยารักษาการติดเชื้อราในกระแสเลือด อาทิ ยา Voriconazole (โวริโคนาโซล) รักษาการติดเชื้อราแอสเปอจิรัสระยะลุกลามจากเชื้อราชนิด Fusarium spp. (ฟูซาเรียม) และ Scedosporium spp. (ซเก็ดโดสปอเรียม), ยา Micafungin (ไมคาฟังกิน) รักษาการติดเชื้อราชนิด Invasive candidiasis ที่ดื้อต่อยา Fluconazole (ฟลูโคนาโซล) หรือไม่สามารถใช้ amphotericin B (แอมโฟเธอริซิน บี) ได้</p><p>ยาเพิ่มการขับเหล็กในผู้ป่วยธาลัสซีเมียเด็ก ที่มีปัญหาการใช้ยาฉีดไม่ได้ผล คือ ยา Deferasirox (ดีเฟอราซีร็อกซ์), ยา Raltegravir (ราลทิกราเวียร์) ยาต้านไวรัสเอชไอวีสำหรับรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ดื้อต่อสูตรพื้นฐาน, ยา Rituximab (ริทูซิแมบ) ยารักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิด DLBCL ที่เจาะจงเฉพาะเซลล์มะเร็งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา</p><p>ยารักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ทุกสายพันธุ์ที่ผลการรักษาดีกว่าเดิม และลดเวลาการกินยาลงจาก 6 เดือนเหลือ 3 เดือน, ยา Sofosbuvir (โซฟอสบูเวียร์) ยากินในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ทำให้รักษาหายเกิน 90% , ยาเม็ดผสม Sofosbuvir+Ledipasvir (โซฟอสบูเวียร์+เลดิพาสเวียร์) เป็นยาสูตรผสม [SOF/LDV] สำหรับรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีแทนยาชนิดเดิมได้ผลเกิน 90%</p><p>นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. ย้ำว่า ยาทั้ง 7 รายการใน 5 กลุ่มโรคข้างต้นนี้ เป็นยาที่คัดเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามขั้นตอนต่างๆ ผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านภาระงบประมาณ และมีการต่อรองราคายาในราคาที่ถูกลง เช่น ยา Sofosbuvir (โซฟอสบูเวียร์) จากราคาเม็ดละ 500 บาท เหลือเม็ดละ 130 บาท เป็นต้น เริ่มสิทธิประโยชน์ 1 มกราคม 2561 นี้</p><p>“ประเทศไทย”...มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากว่า 16 ปีแล้ว และได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติให้เป็นต้นแบบประเทศไม่รวยแต่สามารถทำให้ทุกคนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีคุณภาพได้</p><p>ตอกย้ำในหลักการ “วันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโลก” ที่จัดขึ้นทุกวันที่ 12 ธันวาคมของทุกปี เพื่อรณรงค์ให้ทั่วโลกเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพดีถ้วนหน้า (Health for All)</p><p>ด้วยจุดหมายปลายทางท้ายที่สุดแล้วก็เพื่อสนับสนุนให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นการ “ลงทุน” อย่างฉลาดของรัฐที่ทำเพื่อ “ประชาชนทุกคน” ที่ทุกประเทศสามารถบรรลุได้

3 January 2561

ที่มา ไทยรัฐ

Posted By sty_lib

Views, 802

 

Preset Colors