02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ.

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการเยาวชนต้นแบบ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2550.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2, เรื่อง เรียนรู้เพื่อการบำบัดโรคซึมเศร้าและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย, วันที่ 25-28 กรกฎาคม 2550 ณ. โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย, หน้า 96.

รายละเอียด / Details:

ยาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยมาโดยตลอด ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหามีหลายแนวทาง การมุ่งเน้นกิจกรรมการป้องกันในกลุ่มเยาวชน โดยการจัดตั้งกลุ่มเยาวชนต้นแบบเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่อำเภอศรีรัตนะ โดย คปสอ.ศรีรัตนะ ร่วมกับโรงเรียนศรีรัตนะวิทยา ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศทำสงครามเพื่อกวาดล้างยาเสพติดในปี 2546 โดยมุ่งหวังว่ากลุ่มเยาวชนดังกล่าวจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดการยอมรับตนเองปฏิบัติหน้าที่ตนเอง (เรียนหนังสือ) สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุข และไม่กลับไปเสพหรือยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดซ้ำอีก วิธีการได้นำเยาวชนที่ผ่านค่ายกิจกรรมบำบัดยาเสพติด/บุหรี่ (กลุ่มผู้ติด) และเยาวชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 60 คน มารวมกลุ่มทำกิจกรรมบำบัดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมส่วนร่วม ป่านกระบวนการร่วมคิด ร่วมเสนอ ร่วมทำกิจกรรม ของกลุ่มเยาวชนเอง โดยการกำกับและสนับสนุนของพี่เลี้ยง (ครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข) และใช้กรอบแนวทางการดำเนินกิจกรรมจากคู่มือกิจกรรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางจิต กระบวนการกลุ่มปัญญาสังคมโดยการจัดกิจกรรมกลุ่มทุก 1 เดือน จนครบ 1 ปี ในปีการศึกษา 2549 ประเมินผลโดยกระบวนการสัมภาษณ์ การตอบแบบสอบถาม การสังเกต จำนวนผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้ง และผลการเรียนของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าเยาวชนทั้งหมดเป็นเพศชายศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 34 คน คิดเป็น 56.67% มัธยมศึกษาตอนปลาย 26 คน 43.33% ในด้านการการจัดกิจกรรม พบว่ากลุ่มเยาวชนยังมีความขัดแย้งกันและแบ่งกลุ่ม อยู่บ้างในการจัดทำกิจกรรมในช่วงแรก หลังจากที่ผ่านกระบวนการกลุ่มแล้ว เยาวชนสามารถแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้ง และยอมรับกันได้ และร่วมทำกิจกรรมกลุ่มและให้ความร่วมมือดีมาก ในการเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมจะเข้าร่วมทุกครั้ง ด้านผลการเรียนเด็กสามารถเข้าเรียนต่อจน ม.ต้น 28 คน 82.35% และสามารถเรียนต่อ ม.4 และสอบเข้าเรียนต่อในสายอาชีพ (วิทยาลัยเทคนิค/วิทยาลัยการอาชีพ) ได้ทุกคนอีก 6 คน 7.65% กำลังศึกษาต่อในชั้น ม.3 นักเรียน ม.ปลาย 28 คน สามารถเรียนต้อชั้น ม.6 26 คน 92.86% ที่เหลือ 2 คน 7.24% เรียนซ้ำชั้น 1 คน และอยู่ระหว่าง การขอทำกิจกรรมแก้ผลการเรียน (0 และ ร) 1 คน ซึ่งจะสามารถจบการศึกษาได้ในเดือนมิถุนายน 2550 นี้ ในการมีระบบการติดตามช่วยเหลือที่ดี จะสามารถช่วยเหลือหรือประคับประคองให้นักเรียนมาสามารถก้าวผ่านปัญหา เห็นคุณค่าตนเอง และสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นนักเรียนที่ดี และสามารถเป็นกลุ่มเยาวชนต้นแบบและเป็นอุทาหรณ์ให้กับรุ่นน้องให้เห็นถึงพิษภัยของยาเสพติดได้เป็นอย่างดี และเห็นควรมีการสร้างและขยายเครือข่ายของการมีส่วนร่วมของครอบครัว และพี่เลี้ยง ให้ยอมรับและเข้าใจในบทบาทของตนเองให้มากขึ้น และควรมีการดำเนินการให้ครอบคลุมในกลุ่มเยาวชนนักเรียนหญิง ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องของเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และการทำแท้งจนต้องออกจากโรงเรียนไปและเป็นปัญหาที่ซับซ้อน ที่มีผลกระทบตามมามากมาย และเป็นปัญหาที่มีความท้าทายและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นมากในสังคมไทย

Keywords: เยาวชนต้นแบบ, ยาเสพติด, เยาวชน, สารเสพติด, พฤติกรรม, กิจกรรมบำบัดยาเสพติด

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ.

Code: 2007000199

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 2

Download:

 

Preset Colors