02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: อัตถพงศ์ ถนิมพาสน์

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตของคนไทยภาคใต้ (ระดับบุคคล) ประจำปี พ.ศ. 2544

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 128

รายละเอียด / Details:

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตของคนไทยภาคใต้ (ระดับบุคคล) มีวัตถุปรสงค์ 3 ประการ คือ ประการที่ 1 เพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตของคนภาคใต้ โดยศึกษาความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) และความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) ประการที่ 2 เพื่อหาค่าปกติ (Norm) ซึ่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการกำหนดภาวะสุขภาพจิตของคนไทยภาคใต้ และประการที่ 3 เพื่อศึกษาสุขภาพจิตของคนไทยภาคใต้ โดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาจากผู้ทรงคุณวุฒิและคณะทำงานของกกรมสุขภาพจิตจำนวน 85 ข้อ ซึ่งได้นำมาเพิ่มเติมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ/ศาสนา/ความเชื่อส่วนบุคคล (Spirituality/Religion/Personal Belief) จำนวน 4 ข้อ รวมเป็นดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตของคนไทยภาคใต้ (ระดับบุคคล) จำนวน 89 ข้อ ศึกษากับประชากรจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น (Multi-Stage Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลหรือ อบต.ระดับ 1-5 ของภาคใต้ในจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง ภูเก็ต สงขลา ยะลา ปัตตานี และสตุล จำนวน 3,000 คน เมื่อได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 เดือน ในเดือนธันวาคม 2543 นำเครื่องมือมาตรวจสออบความถูกต้องและบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์พร้อมวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS For Windows ด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า Factor Analysis ได้ผลการศึกษาคือ ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตของคนไทยภาคใต้ (ระดับบุคคล) ฉบับ 89 ข้อมีความตรงตามโครงสร้าง (ค่า Factor Ioading มากกว่า 0.40) และมีความเชื่อถือที่สามารถนำไปประเมินสุขภาพจิตของคนไทยภาคใต้ได้ (ค่าอัลฟา (a ) ของครอนบาค มีค่ามากกว่า 0.7 ขึ้นไป) และพบว่าค่าปกติ (Norm) ด้านสุขภาพจิตคนไทยภาคใต้เท่ากับคนไทย ร้อยละ 50.1 รองลงมาต่ำกว่ากว่าคนทั่วไป ร้อยละ 26.6 ซึ่งเมื่อผู้วิจัยได้ศึกษาเรื่องนี้ ทำให้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาเครื่องมือฉบับนี้ต่อไป คือ ประการที่ 1 พัฒนาเครื่องมือดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตของคนไทยภาคใต้ให้มีฉบับที่มีจำนวนน้อยลง ประการที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถวิเคราะห์ ค่าปกติ (Norm) ที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการกำหนดภาวะสุขภาพจิตแยกเป็นรายเขต 11 และเขต 12 และประการที่ 3 สามารถศึกษาสุขภาพจิตของคนไทยภาคใต้แยกเป็นเขต 11 และเขต 12 และแยกเป็นรายจังหวัด เพื่อจะทำให้ทราบถึงสุขภาพจิตในระดับจังหวัด

Keywords: สุขภาพจิต, ดัชนีชี้วัด, ชุมชน, ดัชนี, mental heath indicator, mental health, community, Indicator, ดัชนีชี้วัด, สุขภาพจิต, คนไทยภาคใต้

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000216

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -

 

Preset Colors